กรมศุลฯ คาดเริ่มใช้ระบบการลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ (e-Register) 1 ก.ย. นี้
กรมศุลฯ
เร่งใช้ระบบออนไลน์ในพิธีการศุลกากรกับทุกหน่วยงาน เพื่อบริการส่งออก-นำเข้า
สะดวกและประสิทธิภาพมากขึ้น เริ่มใช้บริการ 1 ก.ย.นี้ เตรียมแก้เกณฑ์ระงับคดีใหม่
พร้อมให้โอกาสทำผิดแค่ครั้งเดียว พบทำผิดรอบสองจับส่งฟ้องศาลพิจารณาความผิดทางอาญา
นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยในงานสัมมนา “Digital Customs 2018” ว่า
ทางกรมศุลกากรจะเริ่มใช้ระบบออนไลน์ในพิธีการศุลกากรกับทุกหน่วยงาน เช่น ระบบการตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์
(e – Matching) ระบบบริการพิกัดศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Tariff
e-Service) ระบบการลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ (e-register)
ฯลฯ ซึ่งเป็นการจัดทำฐานข้อมูล
โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหลายหน่วยงานเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริการนำเข้าและส่งออกสินค้าสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คาดว่าเริ่มใช้บริการระบบทางออนไลน์ได้วันที่ 1 ก.ย. นี้
นอกจากนี้เตรียมแก้เกณฑ์ระงับคดีใหม่ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดสามารถทำผิดได้เพียง 1
ครั้ง ถ้ายังพบกระทำความผิดในครั้งที่ 2 จะใช้ข้อมูลของผู้กระทำความผิดในรอบแรกเพื่อติดแบล็กลิสต์ไว้
และดำเนินการแจ้งสำเนาส่งฟ้องศาลให้พิจารณาความผิดทางอาญา โดยเสียค่าปรับ 2-4
เท่าของราคาสินค้า
และจะไม่มีการเจรจาในการระงับคดีของชั้นศุลกากรทั้งสิ้น
ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง คาดว่าจะออกประกาศดังกล่าวได้เร็วๆ
นี้
“ยังมีการตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวศุลกากร โดยใช้บิ๊กดาต้าในการจัดทำข้อมูล
เพื่อบริหารความเสี่ยงในการกระความผิดสำแดงสินค้าเท็จและการลักลอบหลีกเลี่ยงหนีภาษี
เช่น ถ้าผู้กระทำความผิดเดินทางไป ต่างประเทศ 180 วัน
หากมีการเดินทางเข้าออกไปประเทศเดิมซ้ำติดต่อกัน 130-140 วัน
ถือว่าผิดปกติ จะมีการขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์ เมื่อผู้ที่กระความผิดเดินทางเข้าไทย
ทางกรมศุลกากรก็พร้อมดำเนินการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าทางสนามบินเป็นรายบุคคล”
นายกุลิศ กล่าว
สำหรับการพัฒนาบริการของกรมศุลกากรในครั้งนี้
มุ่งเน้นการให้บริการผู้ประกอบการในลักษณะบริการออนไลน์เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
การให้บริการยื่นคำขอลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือปรับปรุงแก้ไขข้อมูลทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
ผ่านอินเตอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยระบบการลงทะเบียนผู้มาติดต่อออนไลน์ (e-Register) และการยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ
(Zero Copy) ซึ่งประชาชนสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนเพียงใบเดียวในการติดต่อราชการ
ด้านการให้บริการช่องทางการชำระเงินผ่านธนาคารหรือตัวแทนรับชำระเงิน
ด้วยระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านช่องทางการให้บริการของธนาคาร/ตัวแทนรับชำระเงิน
(e-Bill Payment) โดยสามารถชำระภาษีอากรและภาษีอื่น ๆ เช่น
ใบขนสินค้า, ใบสั่งเก็บเงิน
และใบแจ้งหนี้ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการพิธีการทางศุลกากร
และด้านการให้บริการตรวจสอบและติดตามสถานะการผ่านพิธีการใบขนสินค้า (Import-Export
Declaration), บริการตรวจสอบและติดตามการรายงานยานพาหนะเข้า-ออกและบัญชีสินค้า
(Manifest), บริการตรวจสอบและติดตามสถานะการผ่านพิธีการใบกำกับการขนย้ายสินค้า
(Goods Transition Control List), บริการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนผู้มาติดต่อ
(Customs Registration), บริการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
(e-Tax Incentives Registration), บริการตรวจสอบประวัติการชำระค่าธรรมเนียมศุลกากร
และรายการค้างชำระ (Customs Fee), บริการตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินคืน
(Transfer Money), บริการตรวจสอบและจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน (e-Bill),
บริการตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของไปรษณียภัณฑ์ (Postal
Parcel) และบริการตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้า
สำหรับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต (OGA Declaration) ด้วยระบบ e-Tracking
ที่มาข่าวและภาพ : ประชาชาติธุรกิจ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "DIGITAL CUSTOMS 2018"
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง "DIGITAL CUSTOMS 2018"
Post a Comment