Header Ads

test

การผ่านแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศลาว สามารถดำเนินการตามข้อตกลงใดได้บ้าง ?



       เนื่องจากปัจจุบันการผ่านแดน (Transit) ระหว่างประเทศไทย กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถดำเนินการได้ทั้งประเภท การผ่านแดนตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT ) 1994 และการผ่านแดนตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งทั้งสองประเภทมีความแตกต่างในรายละเอียดของเนื้อหา และการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ฯลฯ มีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้




ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรศึกษาถึงข้อแตกต่าง และข้อจำกัด ของการผ่านแดนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว เนื่องจากมีผลในการดำเนินการขอผ่านแดนและการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดน และอาจมีผลกระทบกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น 

- การยื่นขออนุมัติเป็นผู้ขอผ่านแดน 
- การทำสัญญาประกันทัณฑ์บน 
- การบันทึกข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับเรือ, รถหรืออากาศยาน (Manifest)
- การทำใบขนสินค้าผ่านแดน
- การทำใบเคลื่อนย้ายของผ่านแดน
- ระยะเวลาที่ต้องนำสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
- การกำหนดเส้นทางในการผ่านแดน
- การปฏิบัติพิธีการศุลกากร 
- การควบคุมทางศุลกากร เป็นต้น

          การรวบรวมข้อแตกต่างเบื้องต้นของข้อตกลงทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ก็เพื่อให้การผ่านแดน (Transit) ระหว่างประเทศไทย กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นไปอย่างถูกต้อง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์สูงสุดตามประเภทของข้อตกลงทั้ง 2 กำหนดไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรศึกษาประกาศและเอกสารที่กรมศุลกากรเผยแพร่เพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน อันจะเป็นการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย

Source
- บทความทางวิชาการ เรื่อง การผ่านแดนและการถ่ายลำตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560

ไม่มีความคิดเห็น