Header Ads

test

การวิเคราะห์โลหะเบื้องต้น ด้วยเครื่องมือ Mobile


แม้ว่าการบริโภคเหล็กในประเทศจะมี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของภาค อสังหาริมทรัพย์และภาคการผลิตก็ตาม  ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้กลับทำให้มีการนำเข้า เหล็กจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น จีน เกาหลี เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรงงานผลิตใน ต่างประเทศมักจะมีขนาดใหญ่ สามารถผลิตได้ใน ปริมาณมากทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ ส่งผลต่อ อุตสาหกรรมผู้ผลิตในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว จึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนในการออกมาตรการตอบโต้การ ทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) และมาตรการ ปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure: SG)


การที่สหรัฐมีนโยบายลดความเสียเปรียบ จากการเสียดุลทางการค้า โดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า ภายใต้มาตรา 232 (National Security) กับ สินค้าเหล็กและสินค้าอะลูมิเนียม ที่นำเข้าจาก ทั่วโลกในอัตราร้อยละ 25 และร้อยละ 10 ตามลำดับ1 ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่ากลุ่มเหล็ก และอลูมิเนียมที่ล้นตลาดจากมาตรการกีดกันนี้ อาจจะถูกนำเข้ามาในไทย กรมศุลกากรได้มีนโยบายเฝ้าระวังเหล็ก นำเข้าที่มีการสำแดงเพื่อหลีกเลี่ยง AD และ SG แต่ทั้งนี้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นก็จะต้องไม่ เป็นอุปสรรคสำหรับผู้นำเข้าโดยสุจริต หน่วยงานวิเคราะห์สินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ในกระบวนงานพิธีการทางศุลกากร จึงมีการ จัดเตรียมเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ตรวจสอบ เบื้องต้น ลดปัญหาข้อขัดแย้ง ตลอดจนอำนวย ความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้นำเข้า ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์บริการพื้นฐาน



กรมศุลการกรจึงเผยแพร่บทความทางวิชาการ เรื่อง การวิเคราะห์โลหะเบื้องต้น ด้วยเครื่องมือ Mobile สามารถดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวได้ ที่นี่

ที่มาบทความ : กรมศุลกากร

ไม่มีความคิดเห็น